วัตถุประสงค์ การวิจัยนี้ได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะจิตสังคมกับพฤติกรรมการยอมรับนวัตกรรม ทางวิชาการของครูประถมศึกษาสังกัด กรุงเทพมหานคร โดยมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญ 4 ประการ คือ หนึ่งประการที่ เพื่อศึกษาความแตกต่างของปริมาณพฤติกรรมการยอมรับนวัตกรรมทางวิชาการของครูเมื่อจำแนก ครูตามลักษณะทางชีวสังคมและภูมิหลัง ประการที่สอง เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของสภาพทางสังคมภายในโรงเรียนกับพฤติกรรมการยอมรับนวัตกรรม ทางวิชาการของครู ประการที่สาม เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างจิตลักษณะบางประการกับพฤติกรรมการยอมรับวัตกรรม ทางวิชาการของครู ประการที่สี่ เพื่อศึกษาปริมาณการทำนายร่วมกันของจิตลักษณะบางประการและสภาพทางสังคมภายในโรงเรียน ต่อพฤติกรรมการยอมรับนวัตกรรมทางวิชาการของครู วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้ สุ่มเลือกมาจากครูสายงานผู้ปฎิบัติการสอนในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัด กรุงเทพมหานคร จากเขตชั้นใน 10 เขต และเขตชานเมือง 9 เขต รวม 19 เขต จำนวนครูในกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 468 คน ครูชายจำนวน 236 คน ครูหญิง 232 คน (คิดเป็นร้อยละ 50.4% และ 49.6% ครูอายุน้อย (ต่ำกว่า 40 ปี) จำนวน 246 คน อายุมากจำนวน 236 คน (คิดเป็น 52.57% และ 47.43% ตามลำดับ) ครูที่มีระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี จำนวน 192 คน ระดับตั้งแต่ปริญญาตรีขึ้นไป จำนวน 276 คน (คิดเป็น 41% และ 59%) ครูจากโรงเรียนขนาดเล็ก คือ มีนักเรียนไม่เกิน 400 คน จำนวน 175 คน โรงเรียนขนาดกลางจำนวน 145 คน และโรงเรียนขนาดใหญ่ คือ โรงเรียนที่มีนักเรียน 801 คนขึ้นไป จำนวน 148 คน (คิดเป็น 37.40% และ 31.0% และ 31.60% ตามลำดับ) นอกจากนี้แล้ว ครูในกลุ่มตัวอย่าง จากที่ทำการสอนในเมืองจำนวน 217 คน ครูที่สอนในชานเมือง จำนวน 251 คน (คิดเป็น 46.37% และ 53.63% ตามลำดับ) ตัวแปรที่นำมาศึกษาครั้งนี้มี 5 กลุ่มคือ (1) พฤติกรรมการยอมรับนวัตกรรมทางวิชาการของครู ได้แก่ ความตระหนักถึงประโยชน์และความสำคัญของความรู้ การแสวงหาความรู้และการนำความรู้ไปใช้ปฎิบัติ ตัวแปรในกลุ่มนี้วัดได้โดยใช้แบบวัดที่ประกอบด้วยประโยค ที่มีมาตร 6 หน่วย มีจำนวนฉบับละ 15 ข้อ (2) จิตลักษณะของครู 5 ด้าน ได้แก่ ทัศนคติที่ดีต่อการประกอบอาชีพครู การมุ่งอนาคต ความเชื่ออำนาจภายในตน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และสุขภาพจิต จิตลักษณะเหล่านี้วัดได้โดยใช้แบบวัดที่เป็นประโยค มีมาตร 6 หน่วยประกอบ มีจำนวนฉบับละ 20 ข้อ (3) ลักษณะทางชีวสังคม และภูมิหลัง เช่น เพศ อายุ และระดับการศึกษาวัดได้โดยแบบวัดที่ให้ครูผู้ตอบเลือกตอบ หรือเติมคำในช่องว่างที่กำหนดให้ (4) สภาพทางสังคมภายในโรงเรียน ได้แก่ การบริการและการส่งเสริมการมีแบบอย่างของการปฎิบัติ และบรรยากาศที่ดีทางสังคมภายในโรงเรียน วัดได้โดยแบบวัดที่มีประโยคประกอบด้วยมาตร 6 หน่วยมีจำนวนฉบับละ 20 ข้อ (5) ลักษณะของโรงเรียน คือขนาดของโรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนขนาดเล็ก โรงเรียนขนาดกลางและโรงเรียน ขนาดใหญ่ และลักษณะที่ตั้งของโรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนในเมือง และโรงเรียนชานเมืองวัดได้โดยให้ครูผู้ตอบ เลือกคำตอบหรือเติมข้อความลงในช่องว่างในแบบสอบถามที่กำหนดให้ การวิเคราะห์ข้อมูล ในการวิจัยนี้ได้กระทำหลายวิธี (1) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบแฟคตอเรียลสามทาง (2) การวิเคราะห์แบบถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้น (3) การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน เพื่อใช้ทดสอบสมมติฐานที่ตั้งไว้ 6 ข้อ การวิเคราะห์ผลทั้งหมดนี้ได้กระทำทั้งในกลุ่มรวมและกลุ่มย่อยที่แบ่งตามลักษณะทางชีวสังคม ภูมิหลังและ ลักษณะของโรงเรียนของครูผู้ตอบ ซึ่งสามารถส่งผลให้การเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ระหว่างครูกลุ่มย่อยต่าง ๆ และการ อภิปรายผลการวิจัยได้ชัดเจนขึ้น สรุปผล ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ ประการที่หนึ่ง พบว่า ครูที่มีพฤติกรรมการยอมรับนวัตกรรมทางวิชาการทั้ง 3 ด้าน คือ ความตระหนัก? การแสวงหา และการนำความรู้ไปใช้ปฎิบัติมาก ได้แก่ ครูชาย ครูอายุน้อย ครูที่มีระดับการศึกษาสูง และครูที่มีระยะเวลาทำการสอนน้อย ประการที่สอง พบว่า ครูที่มีความตระหนักถึงประโยชน์และความสำคัญของความรู้ การแสวงหาความรู้ และนำความรู้ไปใช้ปฎิบัติสูง พบในครูที่มีบรรยากาศที่ดี? มาก ได้รับบริการ? มาก และมีแบบอย่างของการปฎิบัติมาก ผลดังกล่าวพบอย่างชัดเจนทั้งในกลุ่มรวม และโดยเฉพาะในกลุ่มครูโรงเรยนขนาดเล็ก และครูชานเมือง ประการที่สาม จากการวิจัยนี้พบว่า จิตลักษณะ 3 ด้าน คือ ทัศนคติที่ดีต่อการประกอบอาชีพครู การมุ่งอนาคต และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ มีปริมาณการทำนายพฤติกรรมการยอมรับนวัตกรรมทางวิชาการทั้ง 3 ด้าน ในครูที่มีสุขภาพจิตดี มากได้มากกว่าครูที่มีสุขภาพจิตน้อยและครูที่มีสุขภาพจิตดีมากพบในโรงเรียนที่มีสภาพทางสังคมภายในโรงเรียนทั้งสามด้าน สูง คือ การบริการ? การมีแบบอย่าง? และมีบรรยากาศที่ดี? มาก ผลนี้พบชัดเจนในครูหญิง ครูในโรงเรียนขนาดเล็ก และโรงเรียนชานเมือง นอกจากนั้นยังพบว่า ครูที่มีบรรยากาศที่ดีทางสังคมภายในโรงเรียนมาก มีสุขภาพจิตดีมาก พบในครูทั่วไปทุกประเภท ยกเว้นครูที่จบการศึกษามานาน และครูที่มีระดับการศึกษาต่ำ ประการสุดท้าย ในการวิจัยนี้พบว่า ชุดตัวทำนายรวมทั้งประกอบด้วยจิตลักษณะ 5 ตัว และลักษณะทางสังคม ในโรงเรียน 3 ตัว รวม 8 ตัว สามารถทำนายองค์ประกอบทั้ง 3 ของพฤติกรรมการยอมรับนวัตกรรมทางวิชาการของครู ได้มากกว่า ชุดจิตลักษณะ หรือชุดลักษณะทางสังคมในโรงเรียนตามลำพัง ผลเช่นนี้พบอย่างชัดเจนในครูที่ทำการสอน มานานกว่า 19 ปีขึ้นไป