วัตถุประสงค์ การวิจัยนี้มุ่งศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับวิทยาการแผนใหม่ในเรื่องการอนุรักษ์ดิน และน้ำของเกษตรกรในหมู่บ้านรอบศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริจุดมุ่งหมายของการ วิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของลักษณะทางเศรษฐกิจ ลักษณะทางสังคม ลักษณะของการได้รับการศึกษาและลักษณะ ทางจิตใจ กับการยอมรับวิทยาการแผนใหม่ในเรื่องการอนุรักษ์ดินและน้ำ วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง เป็นเกษตรกรหัวหน้าครัวเรือนจาก 2 หมู่บ้าน คือ บ้านขำขวาง และบ้านดอกขี้เหล็ก รวมจำนวน 153 คน เครื่องมือ ที่ใช้วัดเป็นแบบสอบถามมีจำนวน 12 ข้อ แบ่งออกเป็น 3 ตอนคือ ตอนที่ 1เป็นข้อมูลพื้นฐานทาง ด้านเศรษฐกิจ-สังคมของเกษตรกร มี 3 ด้านคือ ลักษณะทางเศรษฐกิจ (รายได้ หนี้สิน กรรมสิทธิ์ในที่ดินและทรัพย์สินทาง การเกษตร) ลักษณะของการได้รับการศึกษา (ประสบการณ์ทางการศึกษา และสมรรถนะทางการศึกษา) และลักษณะทางสังคม ตอนที่ 2 เป็นข้อมูลด้านลักษณะทางจิตใจของเกษตรกร มี 3 ด้าน คือ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ความเชื่ออำนาจในตนและความทัน สมัยของบุคคล และตอนที่ 3 เป็นข้อมูลด้านการยอมรับวิทยาการแผนใหม่ในเรื่องการอนุรักษ์ดินและน้ำ ซึ่งมีวิธี 5 วิธีคือ การทำคันดินกั้นน้ำ การไถพรวนตามแนวระดับการปรับปรุงบำรุงดิน การปลูกพืชแซม การปลูกพืชหมุนเวียนการปรับปรุง บำรุงดิน การประมวลและวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSSx กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และ .01 สรุปผล ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้คือ 1. ลักษณะพื้นฐานทั่วไป เกษตรกรมีอายุเฉลี่ย 43.31 ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตรโดยทำไร่มันสำปะหลัง มากที่สุด ร้อยละ 73.13 ซึ่งส่วนใหญ่จบเพียงระดับการศึกษาชั้นประถมปีที่ 4 มีที่ดินเป็นของตนเอง ร้อยละ65.36โดยมีพื้นที่ เพาะปลูกเฉลี่ยครอบครัวละ 30.31 ไร่ จำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.67 หรือ 4 คน รายได้เกษตรกรส่วนใหญ่ค่อนข้างสูง คือ มีรายได้เฉลี่ยครัวเรือนละ 33 640.50 บาทต่อปี หนี้สินทางการเกษตร มีเพียงร้อยละ 39.87 โดยเฉลี่ยครัวเรือนละ 4 740 บาท เกษตรกรที่มีทรัพย์สินทางการเกษตร มีเพียงร้อยละ 18.95 มีเกษตรกรที่ผ่านการฝึกอบรมจากหน่วยราชการ ร้อยละ 62.75 เกษตรกรที่พออ่านออกได้บ้าง ร้อยละ 67.32 2. จากการวิเคราะห์ทางสถิติ พบว่ากรรมสิทธิ์ในที่ดิน ทรัพย์สินทางการเกษตร รายได้ ประสบการณ์ทางการเกษตร ลักษณะทางสังคม แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ความเชื่ออำนาจในตนและความทันสมัยของบุคคลมีความสัมพันธ์กับการยอมรับ วิทยาการแผนใหม่ในเรื่องการอนุรักษ์ดินและน้ำ ส่วน หนี้สินและสมรรถนะทางการศึกษาไม่มีความสัมพันธ์กับการยอมรับวิทยา การแผนใหม่ในเรื่องการอนุรักษ์ดินและน้ำ 3. การยอมรับวิทยาการแผนใหม่ในเรื่องการอนุรักษ์ดินและน้ำของเกษตรกร สรุปได้ว่าเกษตรกรยอมรับมากวิธี มีร้อยละ 61.44 และการยอมรับวิธีการในที่ราบมีถึงร้อยละ 55.22 รองลงมาเป็นการยอมรับวิธีการปรับปรุงบำรุงดินเพียงอย่างเดียว ที่น้อยที่สุดเป็นการยอมรับวิธีการที่ใช้ในพื้นที่ที่มีความลาดชันที่เป็นเช่นนี้เพราะสภาพพื้นที่ตามเกษตรกรรายงานนั้นเป็นพื้นที่ ที่ไม่มีความลาดชันมากที่สุด และเป็นพื้นที่เช่าหรือมีที่น้อยเป็นอันดับรองลงมาสำหรับแหล่งข่าวในการยอมรับวิทยาการ แผนใหม่ในเรื่องการอนุรักษ์ดินและน้ำนั้น ถ้าเป็นในพื้นที่ที่มีความลาดชัน ผู้เป็นแหล่งข่าวมากที่สุดคือเจ้าหน้าที่และที่ยอมรับ เพราะ มีเจ้าหน้าที่มาทำคันดินให้ ส่วนวิธีการที่ใช้ในพื้นที่ราบ ผู้เป็นแหล่งข่าวคือ เพื่อนบ้าน เจ้าหน้าที่และตามตามกัน ตามลำดับ และที่ยอมรับก็เพราะต้องการเพิ่มรายได้ สำหรับการปรับปรุงบำรุงดินนั้น ผู้เป็นแห่งข่าวคือการทำตามกันมาจากบรรพบุรุษ ซึ่งมีมากที่สุด และเป็นที่ยอมรับได้ เพราะเป็นการเพิ่มผลผลิตและบำรุงดินให้ร่วนซุย