วัตถุประสงค์ การวิจัยเรื่อง พัฒนาการของเอกลักษณ์แห่งอีโก้ที่เกี่ยวกับการรับรู้คุณค่าของการทำงาน และการรับรู้คุณค่าของศาสนาในวัยรุ่นไทยภาคใต้" นี้มีจุดประสงค์ที่สำคัญ 4 ประการคือ ประการแรกมุ่งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการได้รับการอบรมเลี้ยงดูทางครอบครัวและจิตลักษณะกับ เอกลักษณ์แห่งอีโก้และการรับรู้คุณค่าของศาสนา ประการที่สองมุ่งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์ทางโรงเรียนและจิตลักษณะกับเอกลักษณ์แห่ง อีโก้และการรับรู้คุณค่าของการทำงาน ประการที่สาม มุ่งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเอกลักษณ์แห่งอีโก้และการรับรู้คุณค่าของการทำงาน ประการที่สามมุ่งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเอกลักษณ์แห่งอีโก้กับการรับรู้คุณค่าของการทำงาน และการ รับรู้คุณค่าของศาสนา ในนักเรียนประเภทต่าง ๆ และประการสุดท้าย มุ่งหาตัวทำนายเอกลักษณ์แห่งอีโก้การรับรู้คุณค่าของ การทำงานและการรับรู้คุณค่าของศาสนาจากการได้รับการอบรมเลี้ยงดูทางครอบครัว ประสบการณ์ทางโรงเรียนและ จิตลักษณะบางประการของนักเรียน วิธีดำเนินการวิจัย ในการวิจัยภาคสนามนี้ กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชายหญิงที่นับถือศาสนาพุทธและอิสลามในโรงเรียนสังกัดกรม สามัญศึกษาที่เรียนอยู่ชั้น ม.4 และชั้น ม.6 และในวิทยาลัยสังกัดกรมอาชีวศึกษาที่เรียนอยู่ชั้น ปวช.1 และชั้นปวช.3ในจังหวัด ปัตตานีและยะลา ซึ่งมีอายุระหว่าง 15 - 21 ปี (อายุเฉลี่ยเท่ากับ 17.06 ปี) จำนวนนักเรียนทั้งหมด 480 คน โดยขอความร่วมมือ จากโรงเรียนทั้งสองประเภทได้แล้ว จึงทำการสุ่มชั้นเรียนแล้วขอให้นักเรียนในชั้นนั้น ๆ ตอบแบบวัดและแบบสอบถาม พร้อมกันในชั้นเรียน ข้อความในแบบสอบถามซึ่งพิมพ์รวมเล่มมีลักษณะเป็นประโยคที่มีมาตรวัด 6 หน่วยประกอบด้วย แบบวัดประสบการณ์ในการทำงาน ลักษณะของเพื่อนที่เลือกคบ การได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุนการได้รับการ อบรมเลี้ยงดูแบบใช้เหตุผล และสุขภาพจิต ห้าแบบวัดนี้มีจำนวนข้อคำถามแบบวัดละ 20 ข้อ แบบวัดพัฒนาการทางอารมณ์เชิง สังคม เอกลักษณ์แห่งอีโก้ และการรับรู้คุณค่าของการศาสนาสามแบบวัดนี้มีจำนวนข้อคำถามแบบวัดละ 23 ข้อ ส่วนแบบ วัดการรับรู้คุณค่าของการทำงานจำนวนข้อคำถาม 25 ข้อ และสุดท้ายเป็นแบบสอบถามลักษณะทางชีวสังคมและภูมิหลัง ของครอบครัว ลักษณะทั้งให้เติมข้อความในช่องว่างและเลือกตอบ ในการวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยนี้ ได้แบ่งตัวแปรที่ศึกษาเป็น 5 กลุ่มคือ กลุ่มแรก เป็น ตัวแปรเกี่ยวกับ ลักษณะทางชีวสังคมและภูมิหลังของผู้ตอบ จำนวน 14 ตัวแปรใช้เป็นตัวแปรอิสระและตัวแปรแบ่งกลุ่มย่อย กลุ่มที่สองคือ ตัวแปรประสบการณ์ทางบ้านมี 2 ตัว ได้แก่ การอบรม เลี้ยงดูแบบรักสนับสนุนและการอบรมเลี้ยงดูแบบใช้เหตุผลใช้เป็น ตัวแปรอิสระ กลุ่มที่สาม คือ ตัวแปรประสบการณ์ทางโรงเรียนมี 2 ตัว ได้แก่ ประสบการณ์ในการทำงานและลักษณะ ของเพื่อนที่เลือกคบเป็นตัวแปรอิสระเช่นกัน กลุ่มที่สี่คือ ตัวแปรลักษณะพื้นฐานทางจิตใจ 2 ตัว ได้แก่พัฒนาการทาง อารมณ์เชิงสังคมและสุขภาพจิตใช้เป็นทั้งตัวแปรอิสระและตัวแปรตามในการวิเคราะห์ทางสถิติต่าง ๆ ตัวแปรในกลุ่มที่ห้าคือ เอกลักษณ์แห่งอีโก้ การรับรู้คุณค่าของการทำงาน และการรับรู้คุณค่าของศาสนา ใช้เป็นตัวแปรตามอย่างเดียวได้ใช้วิธีการ วิเคราะห์ความแปรปรวนโดยใช้ตัวแปรอิสระทีละ 2 และ 3 ตัว การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์แบบ ถดถอยพหุคูณชนิดสเตบไวส์ เพื่อทดสอบสมมติฐานที่ตั้งไว้ 6 ข้อ และทำการวิเคราะห์ข้อมูลเพิ่มเติมจากสมมติฐาน ทางการวิจัยที่ได้ตั้งไว้ด้วย สรุปผล ในการวิจัยนี้มีสมมติฐาน 6 ข้อ ผลการวิจัยนี้ให้การสนับสนุนสมมติฐานอย่างชัดเจน 3 ข้อ และให้การ สนับสนุนบางส่วนของสมมติฐานอีก 1 ข้อ โดยมีผลสำคัญดังต่อไปนี้ ในการวิจัยนี้ได้พบว่าผู้ที่มีเอกลักษณ์แห่งอีโก้สูง จะเป็นผู้ที่มีพัฒนาการทางอารมณ์เชิงสังคมสูงมี สุขภาพจิตดีมากและคบเพื่อนที่มีลักษณะเหมาะสมมาก ตัวแปรทั้งสามนี้สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของคะแนน เอกลักษณ์แห่งอีโก้ในกลุ่มรวมได้ 58% และทำนายสูงสุดในนักเรียนที่เคร่งศาสนาน้อย (70%) ผู้ที่มีการรับรู้คุณค่าของการ ทำงานสูง เป็นผู้ที่มีพัฒนาการทางอารมณ์เชิงสังคมสูง คบเพื่อนที่มีลักษณะเหมาะสมมากและมีประสบการณ์ในการทำงาน มากตัวแปรทั้งสามนี้ร่วมกันทำนายการรับรู้คุณค่าของการทำงานได้ 21% ในกลุ่มรวมและ 30% ในกลุ่มนักเรียนที่แยกกัน อยู่กับบิดามารดา ผู้ที่รับรู้คุณค่าของศาสนาสูง เป็นผู้ซึ่งคบเพื่อนที่มีลักษณะเหมาะสมมาก มีพัฒนาการทางอารมณ์เชิงสังคมสูง และถูกอบรมเลี้ยงดูแบบใช้เหตุผลมาก ตัวแปรทั้งสามนี้ร่วมกันทำนายการรับรู้คุณค่าของศาสนาในกลุ่มรวมได้ 16% และการอบรมเลี้ยงดูแบบใช้เหตุผลเพียงตัวเดียวที่เข้าสู่สมการทำนายได้ถึง 39% ในนักเรียนที่เคร่งศาสนาน้อย ผู้ที่มีเอกลักษณ์แห่งอีโก้สูง ก็เป็นผู้ที่มีการรับรู้คุณค่าของการทำงานสูงและมีการรับรู้คุณค่าของศาสนาสูงด้วย อย่างชัดเจนในนักเรียนทุกประเภท การวิจัยนี้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของพัฒนาการทางอารมณ์เชิงสังคมที่สะสมมาตั้งแต่เด็กการเลือกคบเพื่อน ที่มีลักษณะเหมาะสม การอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุน และแบบใช้เหตุผลการมีประสบการณ์ในการทำงานและีการม สุขภาพจิตดี ว่าเป็นสิ่งจำเป็นต่อเยาวชนที่จะเป็นกำลังสำคัญของชาติต่อไป