วัตถุประสงค์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ 4 ประการ คือ 1) เพื่อเปรียบเทียบคุณลักษณะทางจิตใจของประชากรที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านที่มีระดับการพัฒนาต่างกัน 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับพฤติกรรมที่เอื้อต่อการพัฒนาของประชากรที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านที่มีระดับการพัฒนาต่างกัน 3) เพื่อเปรียบเทียบคุณลักษณะทางจิตใจของประชากรที่มีระดับพฤติกรรมที่เอื้อต่อการพัฒนาต่างกัน และ 4) เพื่อศึกษาว่าประชากรที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านที่มีระดับการพัฒนาต่างกัน และมีระดับพฤติกรรมที่เอื้อต่อการพัฒนาต่างกันมีคุณลักษณะทางจิตใจต่างกันหรือไม่ส่วนคุณลักษณะทางจิตใจที่นำมาศึกษา ครั้งนี้ ได้แก่ คุณลักษณะทางจิตใจด้านสุขภาพจิตด้านประสบการณ์ทางสังคมด้านความเชื่ออำนาจภายในตนเองด้านทัศนคติ ที่ดีต่อพฤติกรรมที่สังคมปรารถนา ด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ด้านการมุ่งอนาคต และการควบคุมตนเอง วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ประชากรที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านที่มีระดับการพัฒนาสูงซึ่งเป็นหมู่บ้าน ที่ชนะการประกวดหมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเองระดับจังหวัดและเป็นหมู่บ้านตามโครงการหมู่บ้านแผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง และศึกษากลุ่มประชากรที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านที่มีระดับการพัฒนาต่ำซึ่งเป็นหมู่บ้านที่อยู่นอกโครงการพัฒนาทั้ง 2 กลุ่ม จำนวน 6 หมู่บ้าน ใน3 จังหวัดคือ สุรินทร์ บุรีรัมย์ และนครราชสีมา กลุ่มละ 180 คน รวมทั้งหมด 360 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการวัดตัวแปรต่าง ๆ ในการวิจัยนี้มีด้วยกัน 3 ชุด คือ แบบสอบถามข้อมูลพื้นฐานของ ประชากร แบบสอบถามคุณลักษณะทางจิตใจของประชากรทั้ง 6 ด้าน และแบบสอบถามพฤติกรรมที่เอื้อต่อการพัฒนา สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลนั้น ได้ทำการวิเคราะห์ทางสถิติหลายประเภทได้แก่ การวิเคราะห์ค่าทีวิเคราะห์ความ แปรปรวนทางเดียว และวิเคราะห์ความแปร ปรวนสองทาง สรุปผล ผลการศึกษาพบว่า 1) ประชากรที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านที่มีระดับการพัฒนาสูงมีคุณลักษณะทางจิตใจทั้ง 6 ด้าน สูงกว่าประชากรที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านที่มีระดับการพัฒนาต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2)ประชากรที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้าน ที่มีระดับการพัฒนาสูงมีระดับพฤติกรรมที่เอื้อต่อการพัฒนาสูงกว่าประชากรที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านที่มีระดับการพัฒนาต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ประชากรที่มีระดับพฤติกรรมที่เอื้อต่อการพัฒนาสูง มีคุณลักษณะทางจิตด้านต่าง ๆ สูงกว่าประชากรที่มีระดับพฤติกรรมที่เอื้อต่อการพัฒนาต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ยกเว้นคุณลักษณะทางจิตด้าน สุขภาพจิต 4) จากผลการศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างระดับการพัฒนากับพฤติกรรมที่เอื้อต่อการพัฒนา พบว่า คุณลักษณะทางใจ ด้านสุขภาพจิต ด้านทัศนคติที่ดีต่อพฤติกรรมที่สังคมปรารถนา และด้านควมเชื่ออำนาจภายในตนมีปฏิสัมพันธ์กันอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 5) ประชากรที่มีการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มสถาบันต่าง ๆ ในชุมชนระดับสูงมีคุณลักษณะทางใจ ด้านต่าง ๆ สูงกว่าประชากรที่มีการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มสถาบันต่าง ๆในชุมชนในระดับต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01