วัตถุประสงค์ การวิจัยครั้งนี้ต้องการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลสัมฤทธิ์วิชาคณิตศาสตร์มโนภาพ เกี่ยวกับตน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ กับการรับรู้สาเหตุของความสำเร็จและความล้วเหลวในวิชาคณิตศาสตร์และเปรียบเทียบว่า นักเรียนที่มีมโนภาพเกี่ยวกับตน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ เพศ ระดับชั้นทางสังคม และระดับชั้นเรียนที่ต่างกันมีการรับรู้สาเหตุ ของความสำเร็จและความล้มเหลวในวิชาคณิตศาสตร์ต่างกันหรือไม่ตลอดจนหาตัวทำนายที่ดีสำหรับตัวแปรเกณฑ์ ผลสัมฤทธิ์วิชาคณิตศาสตร์ วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ห้า จำนวน 275 คน เป็นชาย 135 คน และเป็นหญิง 140 คน และ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่สอง จำนวน 275 คน เป็นชาย 147 คน และเป็นหญิง 128 คน ในโรงเรียนสังกัดสำนักงาน การประถมศึกษา และกรมสามัญศึกษาในจังหวัดนครปฐม ปีการศึกษา 2530 เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบทดสอบรวม 6 ฉบับ คือ 1) แบบสอบถามลักษณะภูมิหลัง 2) แบบสอบถามวัดมโนภาพเกี่ยวกับตน 3) แบบสอบถามวัดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ 4) แบบสอบถามวัดการรู้สาเหตุของความสำเร็จและความล้มเหลว 5) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์วิชาคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่สี่ (ใช้วัดนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ห้า) และ 6) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์วิชาคณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่หนึ่ง (ใช้วัดนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่สอง) สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน โ?เทลลิงทีสแควร์ (Hotelling-T2) และสหสัมพันธ์พหุคูณ ซึ่งการคำนวณทั้งหมดใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSSx สรุปผล ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. มโนภาพเกี่ยวกับตน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการรับรู้สาเหตุของความสำเร็จว่า เป็นเพราะความสามารถและ ความพยายามและมีความสัมพันธ์ทางลบกับการรับรู้สาเหตุของความสำเร็จว่าเป็นเพราะโชคดีการรับรู้สาเหตุของความ ล้มเหลวว่าเป็นเพราะขาดความสามารถ โชคไม่ดี และงานยาก ผลนี้พบทั้งในกลุ่มนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ห้า และ ในกลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่สองแต่ความสัมพันธ์ทางบวกระหว่างมโนภาพเกี่ยวกับตนกับการรับรู้สาเหตุของความ สำเร็จว่าเป็นเพราะงานง่ายพบเฉพาะในกลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่สองเท่านั้น 2. แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการรับรู้สาเหตุของความสำเร็จว่าเป็นเพราะความสามารถ และความพยายาม และมีความสัมพันธ์ทางลบกับการรับรู้สาเหตุของความสำเร็จว่าเป็นเพราะโชคดีการรับรู้สาเหตุ ของความล้มเหลวว่าเป็นเพราะขาดความสามารถ โชคไม่ดีและงานยาก โดยผลนี้พบทั้งกลุ่มนักเรียนประถมศึกษาปีที่ห้า และกลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่สองแต่แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการรับรู้สาเหตุของความ สำเร็จว่าเป็นเพราะงานง่ายและการรับรู้สาเหตุของความล้มเหลวว่าเป็นเพราะขาดความพยายามพบเฉพาะในกลุ่มนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่สองเท่านั้น 3. ผลสัมฤทธิ์วิชาคณิตศาสตร์มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการรับรู้สาเหตุของความสำเร็จว่าเป็นเพราะความสามารถ และความพยายาม และมีความสัมพันธ์ทางลบกับการรับรู้สาเหตุของความล้มเหลวว่าเป็นเพราะโชคไม่ดีผลนี้พบทั้งในกลุ่ม นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ห้า และในกลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่สองแต่พบความสัมพันธ์ทางบวกระหว่าง ผลสัมฤทธิ์วิชาคณิตศาสตร์กับการรับรู้สาเหตุของความล้มเหลวว่าเป็นเพราะขาดความพยายามเฉพาะในกลุ่มนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ห้าและพบความสัมพันธ์ทางลบระหว่างผลสัมฤทธิ์วิชาคณิตศาสตร์กับการรับรู้สาเหตุของความสำเร็จ ว่าเป็นเพราะโชคดี การรับรู้สาเหตุของความล้มเหลวว่าเป็นเพราะขาดความสามารถ โชคไม่ดี และงานยากเฉพาะในกลุ่ม นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่สอง 4. นักเรียนที่มีมโนภาพเกี่ยวกับตนสูงมีการรับรู้สาเหตุของความสำเร็จว่า เป็นเพราะความสามารถและความพยายาม ในระดับที่สูงกว่านักเรียนที่มีมโนภาพเกี่ยวกับตนต่ำผลเช่นนี้พบทั้งในกลุ่มนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ห้าและในกลุ่ม นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่สอง สำหรับกรณีความล้มเหลวนั้นนักเรียนที่มีมโนภาพเกี่ยวกับตนสูงมีการรับรู้สาเหตุของความ ล้มเหลวว่าเป็นเพราะขาดความสามารถในระดับที่ต่ำกว่านักเรียนที่มีมโนภาพเกี่ยวกับตนต่ำผลเช่นนี้พบในกลุ่มนักเรียน ทั้งสองระดับชั้นเช่นกัน สำหรับผลที่พบเฉพาะในกลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่สอง คือนักเรียนที่มีมโนภาพเกี่ยวกับ ตนสูงมีการรับรู้สาเหตุของความล้มเหลวว่าเป็นเพราะโชคไม่ดี ในระดับที่ต่ำกว่านักเรียนที่มีมโนภาพเกี่ยวกับตนต่ำ 5. นักเรียนที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สูงมีการรับรู้สาเหตุของความสำเร็จว่า เป็นเพราะความสามารถและความ พยายามในระดับที่สูงกว่านักเรียนที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ต่ำ ผลนี้พบทั้งในกลุ่มนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ห้าและใน กลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปที่สอง ส่วนกรณีการรับรู้สาเหตุของความล้มเหลวนักเรียนที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สูง มีการรับรู้สาเหตุของความล้มเหลวว่าเป็นเพราะโชคไม่ดีในระดับที่ต่ำกว่านักเรียนที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ต่ำซึ่งพบ ในกลุ่มนักเรียนทั้งสองระดับชั้น เช่นเดียวกัน ส่วนผลที่พบเฉพาะในกลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่สอง คือ นักเรียนที่ ่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สูงมีการรับรู้สาเหตุของความล้มเหลวว่าเป็นเพราะขาดความพยายามในระดับที่สูงกว่า นักเรียนที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ต่ำ 6.นักเรียนที่มีเพศต่างกันมีการรับรู้สาเหตุของความสำเร็จและความล้มเหลวไม่แตกต่างกันทั้งในกลุ่มนักเรียน ชั้นประถมปีที่ห้า และกลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่สอง 7. นักเรียนที่มาจากระดับชั้นทางสังคมต่างกันมีการรับรู้สาเหตุของความสำเร็จและความล้มเหลวไม่แตกต่างกัน ทั้งในกลุ่มนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ห้าและในกลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่สองยกเว้นการรับรู้สาเหตุของความสำเร็จ ว่าเป็นเพราะความพยายาม ผลการวิเคราะห์พบเฉพาะนักเรียนในกลุ่มชั้นประถมศึกษาปีที่ห้าซึ่งพบว่านักเรียนที่มาจากระดับ ชั้นทางสังคมสูงมีการรับรู้สาเหตุนี้ในระดับที่สูงกว่านักเรียนที่มาจากระดับชั้นทางสังคมต่ำ 8. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ห้ามีการรับรู้สาเหตุของความสำเร็จว่าเป็นเพราะโชคดีและรับรู้สาเหตุของความ ล้มเหลวว่าเป็นเพราะโชคไม่ดี ในระดับที่สูงกว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่สองแต่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ห้ามีการรับรู้ สาเหตุของความสำเร็จว่าเป็นเพราะงานง่ายและมีการรับรู้สาเหตุของความล้มเหลวว่าเป็นเพราะขาดความพยายามและงานยาก ในระดับที่ต่ำกว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่สอง 9. การทำนายผลสัมฤทธิ์วิชาคณิตศาสตร์ โดยตัวแปรมโนภาพเกี่ยวกับตน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์เพศระดับชั้นทาง สังคมการรับรู้สาเหตุของความสำเร็จว่าเป็นเพราะความสามารถ ความพยายาม โชคดี งานง่ายและการรับรู้สาเหตุของความ ล้มเหลวว่าเป็นเพราะขาดความสามารถ ขาดความพยายาม โชคไม่ดีและงานยากผลการวิเคราะห์ข้อมูลในกลุ่มนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ห้าพบว่าตัวทำนายที่ดีที่สุดคือ การรับรู้สาเหตุของความสำเร็จว่าเป็นเพราะความสามารถซึ่งสามารถ ทำนายผลสัมฤทธิ์วิชาคณิตศาสตร์ได้ร้อยละ 3.47 ส่วนในกลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่สองการรับรู้สาเหตุของ ความล้มเหลวว่าเป็นเพราะงานยากและการรับรู้สาเหตุของความสำเร็จว่าเป็นเพราะความสามารถเป็นตัวทำนายที่ดีของ ผลสัมฤทธิ์วิชาคณิตศาสตร์ ซึ่งสามารถทำนายได้ร้อยละ 6