วัตถุประสงค์ การวิจัยเชิงทดลองนี้ มีจุดมุ่งหมายสำคัญคือ ต้องการหาวิธีที่จะชักจูงให้บุคคลเปลี่ยน เจตคติคล้อยตามการชักจูง โดยนำเอาหลักเหตุผลเชิงจริยธรรมตามทฤษฏีของโคลเบอร์ก มาใช้กำหนดเนื้อหาในสารชักจูงเพื่อให้เหมาะสมกับผู้รับ นอกจากนี้ได้นำเอาปัจจัยด้านความคุ้นเคยกับเรื่องที่ชักจูง ปัจจัยด้านเพศ และปัจจัยด้านบุคลิกภาพแบบเคร่งครัด มาเป็นสาเหตุประกอบการทำนายปริมาณการยอมเปลี่ยนเจตคติในผู้รับ ภายหลังจากที่ผู้ถูกทดลองได้อ่านสารประเภทต่าง ๆ คือ สารที่อ้างเหตุผลขั้นสูง (ขั้น 4-6) สารที่อ้างเหตุผลขั้นต่ำ (ขั้น 1-3) และสารควบคุมแล้ว ได้วัดเจตคติและเหตุผลเชิงจริยธรรมเพื่อประเมินการชักจูงด้วยสารต่างกัน 3 ประเภทดังกล่าว วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ประจำภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2529 ของโรงเรียนหัวตะพานวิทยาคม อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นผู้ที่ใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม ในขั้นที่ 3 อย่างเด่นชัด จำนวนทั้งสิ้น 120 คน แบ่งเป็นชาย 60 คนและหญิง 60 คน กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดถูกสุ่มเข้ากลุ่มทดลอง 2 กลุ่มและกลุ่มควบคุม 1 กลุ่มโดยแต่ละกลุ่มประกอบด้วยนักเรียนชายที่มีบุคลิกภาพแบบเคร่งครัดมาก 10 คน และเคร่งครัด น้อย 10 คน กับนักเรียนหญิงที่มีบุคลิกภาพแบบเคร่งครัดมาก 10 คนและเคร่งครัดน้อย 10 คน รวมเป็นกลุ่มละ 40 คน กลุ่มทดลองที่ 1 อ่านสารชักจูงขั้นสูง กลุ่มทดลองที่ 2 อ่านสารชักจูงขั้นต่ำ และกลุ่มควบคุม อ่านสารควบคุม หลังจากนั้น กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดถูกวัดเจตคติที่มีต่อเรื่องทั้ง 4 เรื่อง (คือเรื่องงูและเครื่องครู ซึ่งจัดเป็นเรื่องที่คุ้นเคยมาก กับเรื่องสินค้า ไทยและเรื่องการไปเที่ยวต่างประเทศ ซึ่งจัดเป็นเรื่องที่คุ้นเคยน้อย) โดยแบบวัดเจตคตินี้มี 2 แบบคือ แบบแรก เพื่อวัด เจตคติด้านความรู้สึกพอใจต่อเรื่องที่ชักจูงแบบที่สองเป็นแบบวัดที่สร้างโดยอาศัยมาตรของลิเขิตเพื่อวัดองค์ประกอบ ด้านการมุ่งกระทำตามการชักจูงในเรื่องนั้น ๆ และถูกวัดเหตุผลเชิงจริยธรรม สรุปผล ผลการวิจัยที่สำคัญมี 5 ประการคือ ประการแรก จากการวิเคราะห์กลุ่มรวม เพื่อเปรียบเทียบผลการชักจูงด้วยสาร 3 ประเภท พบว่า กลุ่มที่ได้รับ สารขั้นสูงและสารขั้นต่ำ มีเจตคติสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับสารควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01แต่ไม่พบว่ากลุ่มที่ ได้รับสารขั้นสูงมีเจตคติสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับสารขั้นต่ำจนถึงระดับที่ยอมรับได้ ส่วนการวิเคราะห์รายละเอียดใน 4 เรื่อง ที่ใช้ชักจูง พบว่าเรื่องครูเมื่อวัดเจตคติด้านความรู้สึกพอใจ ลุ่มที่ได้รับสารขั้นสูงมีเจตคติที่ดีต่อครูสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับสาร ขั้นต่ำ และทั้งสองกลุ่มนี้มีเจตคติที่ดีต่อครูมากกว่ากลุ่มที่ได้รับสารควบคุมซึ่งผลส่วนนี้สนับสนุนสมมติฐานหลัก ของการวิจัยนี้ แต่เมื่อวัดเจตคติด้านการมุ่งกระทำกลับพบว่าทั้งสามกลุ่มมีเจตคติไม่แตกต่างกัน ส่วนเรื่องอื่น ๆ ได้ผลเช่นเดียวกับการวิเคราะห์ในกลุ่มรวม ประการที่สอง เมื่อวิเคราะห์เป็นเรื่องที่คุ้นเคยมากและคุ้นเคยน้อย พบว่า การใช้สารชักจูงต่างกันให้ผลต่างกัน ในองค์ประกอบด้านความรู้สึกพอใจคือพบว่า ผู้อ่านสารขั้นสูงและสารขั้นต่ำมีเจตคติสูงไปในทิศทางที่ชักจูงมากกว่า ผู้อ่านสารควบคุม เฉพาะเมื่อเป็นสารที่คุ้นเคยน้อยเท่านั้น ส่วนสารที่คุ้นเคยมากนั้น สารขั้นต่ำให้ผลไม่ต่างจากสารควบคุม ประการที่สาม จากการวิเคราะห์เจตคติของนักเรียนชายและหญิงพบว่า ในการวิเคราะห์ในกลุ่มรวมนักเรียนชาย มีเจตคติไม่ต่างจากนักเรียนหญิง และตัวแปรตามไม่ได้แปรปรวนไปตามปฎิสัมพันธ์ระหว่างเพศ และสารชักจูงแต่อย่างใด แต่เมื่อจำแนกนักเรียนชายและหญิงออกตามปริมาณการรับรู้เนื้อหาของสาร เป็นกลุ่มที่มีความรู้มากและความรู้น้อยแล้ว วิเคราะห์แยกต่างหากจากกัน พบว่าในกลุ่มที่มีความรู้น้อยนั้นนักเรียนชายมีเจตคติด้านความรู้สึกพอใจในกลุ่มรวมความรู้ น้อยและเรื่องงูสูงกว่านักเรียนหญิง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนในกลุ่มที่มีความรู้มากนักเรียนหญิงมีเจตคติ ด้านการมุ่งกระทำตามการชักจูงต่อเรื่องการซื้อสินค้าไทยมากกว่านักเรียนชาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ประการที่สี่ จากการชักจูงโดยใช้สารที่ต่างกันไม่พบว่าผู้มีบุคลิกภาพแบบเคร่งครัดมากมีเจตคติต่างจาก ผู้มีบุกคลิกภาพแบบเคร่งครัดน้อย ไม่ว่าจะวิเคราะห์ในกลุ่มรวมและกลุ่มแยกย่อย และตัวแปรตามมิได้แปรปรวนไปตาม ปฎิสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพแบบเคร่งครัดและสารชักจูงแต่อย่างใด ประการสุดท้าย จากการวิเคราะห์การใช้เหตุผลเชิงจริยธรรรมระหว่างกลุ่มที่ได้รับสารขั้นสูงกลุ่มที่ได้รับสาร ขั้นต่ำและกลุ่มที่ได้รับสารควบคุม พบว่าทั้งสามกลุ่มมีการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมไม่แตกต่างกัน ผลการวิจัยนี้แสดงว่า การใช้สารชักจูงขั้นสูงตามหลักเหตุผลเชิงจริยธรรม มีประโยชน์ในการเปลี่ยนเจตคติของนักเรียนวัยรุ่นได้มากโดยเฉพาะ ในเรื่องเกี่ยวกับครู และในนักเรียนที่รับรู้สารชักจูงอย่างถูกต้องมากนั้นสารชักจูงสามารถเปลี่ยนการมุ่งกระทำของนักเรียน หญิงมากกว่าชาย โดยเฉพาะในเรื่องการซื้อสินค้าไทย ซึ่งจะนำไปสู่การปฎิบัติที่เหมาะสมในกลุ่มนักเรียนเหล่านี้ได้มาก