RB 523 BEHAVIOR  ANALYSIS 

AND BEHAVIOR MODIFICATION

 

บทความวิชาการ

ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพกายและใจ

 

เสนอ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประทีป    จินงี่

 

โดย

นางสาวจุฑารัตน์   กิตติเขมากร

รหัส  49299080178

 

ปีการศึกษา 2/2550

สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์

สถาบันพฤติกรรมศาสตร์

 

ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพกายและใจ

            จากสภาพปัจจุบัน ความเจริญเติบโตทั้งทางด้านเศรษฐกิจ  สังคม ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี   มนุษย์ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ  ดังนั้น คุณภาพชีวิตจึงเป็นสิ่งสำคัญและเป็นกลไกหลักที่จะขับเคลื่อนความเจริญก้าวหน้า การเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคม สิ่งหนึ่งที่เราสามารถจะส่งเสริมให้ป ระชาชนได้มีคุณภาพชีวิตที่ดี วิธีการหนึ่งนั่นก็คือ การออกกกำลังกายเพื่อสุขภาพกายและใจ เมื่อสองสิ่งนี้มีความเข้มแข็ง ร่างกายของเราก็จะมีสุขภาพแข็งแรง สามารถเรียน ทำงาน หรือดำเนินชีวิต อย่างมีประสิทธิภาพ  มีรายงานการวิจัยพบว่า เหตุผลของการไม่ออกกำลังกาย ของประชาชนชายและหญิง คือ ไม่มีเวลาและอาจสืบเนื่องมาจากสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกไม่เพียงพอกับจำนวนประชากร ดังนั้น ความต้องการทางด้านสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกจึงเป็นเครื่องมือช่วยให้พฤติกรรมการออกกำลังกายของประชากรได้ดีขึ้น จากเหตุผลดังกล่าว จึงควรมีการส่งเสริม และทำความเข้าใจเกี่ยวกับการออกกำลังกายให้ถูกต้อง  

แม้ว่าการเจริญเติบโตและการเสื่อมโทรมอวัยวะต่าง ๆ  จะเป็นไปตามกฎธรรมชาติแต่การออกกำลังกายก็เป็นวิธีการทางธรรมชาติ ที่มีผลทำให้อวัยวะมีการเจริญเติบโตเต็มศักยภาพมีความสมบูรณ์และแข็งแรง ชะลอการเสื่อมและมีการพัฒนาทั้งรูปร่างและความสามารถในการทำงาน การใช้อวัยวะต่าง ๆ ไม่ถูกต้องและเหมาะสมแล้ว  จะส่งผลให้อวัยวะเหล่านั้นเจริญเติบโตช้าไม่สมบูรณ์และไม่แข็งแรง โอกาสที่จะเสื่อมโทรมมีมากขึ้นและอาจเป็นสาเหตุของการนำโรคได้ง่าย 

ดังนั้นการส่งเสริมให้ประชาชนหันมาให้ความสนใจ การออกกำลังกาย เพื่อสุขภาพทั้งสุขภาพกายและใจ   

จึงเป็นสิ่งที่ทุกประเทศกำลังรณรงค์ให้ความสำคัญโดยเฉพาะประเทศอุตสาหกรรม หรือประเทศที่พัฒนาแล้ว    เนื่องจากพฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมการดำเนินชีวิตประจำวันและความเจ็บป่วยด้วยโรคที่เกิดจากการขาดการเคลื่อนไหว เช่น  โรคหัวใจ  โรคทางกระดูก  โรคเกี่ยวกับปวดเมื่อย ฯลฯ ดังนั้น ความเข้าใจเกี่ยวกับการออกำลังกายคืออะไร เพื่อจุดประสงค์ใด   และสาเหตุที่ไม่ค่อยมีการออกกำลังกายของประชาชนเนื่องมาจากความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับสถานที่หรืออุปกรณ์อำนวยความสะดวกไม่เพียงพอ หรือเพราะสาเหตุเนื่องมาจากพฤติกรรมของมนุษย์เองหรือไม่

 

ตราบใดก็ตามเมื่อมนุษย์ยังมีการเคลื่อนไหวการกีฬาและการออกกำลังกายย่อมมีบทบาทส่งเสริมการเคลื่อนไหวให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น  ฉะนั้น การกีฬาและการออกกำลังกายจึงมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับการดำรงชีวิตประจำวัน

 สำหรับการออกกำลังกายนั้นเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกคนไม่เฉพาะช่วงใดช่วงหนึ่งของอายุแต่มีความจำเป็นตลอดชีวิต    ซึ่งการออกกำลังแต่ละวัยก็มีความแตกต่างกันออกไปตามความเหมาะสมและความต้องการของร่างกายในแต่ละบุคคลอายุจึงเป็นตัวแปรสำคัญ ต่อการเลือกวิธีการออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา 

สำหรับวัยเด็ก  เด็กหญิงในช่วงอายุก่อน 12 ปี และเด็กชายก่อนอายุ 14 ปี  การออกกำลังกาย ควรจะออกมาในลักษณะของกีฬาหรือการออกกำลังกายง่าย ๆ  เน้นที่ความสนุกสนานให้มาก ควรจะเริ่มจากทักษะง่าย ๆ และช้า ๆ อย่างมีขั้นตอน และสิ่งสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ ไม่ควรใช้วิธีบังคับ แต่ควรให้กระทำด้วยความสมัครใจ พร้อมกับอธิบายให้เข้าใจต่อประโยชน์ที่ได้รับจากการออกกำลังกายหรือการเล่นกีฬา

สำหรับวัยหนุ่มสาว  อายุช่วงประมาณ 30 ปี  เป็นช่วงที่ร่างกายมีการพัฒนาเต็มที่แล้วสมรรถภาพทางกายมีความพร้อมในทุก ๆด้าน  ดังนั้น ผู้ที่มีพื้นฐานทางกีฬามาดี ก็จะสามารถเล่นกีฬาและออกกำลังกายได้อย่างเต็มที่ เช่น การว่ายน้ำ การวิ่ง  กีฬาต่างๆ ที่ตนเองมีความชอบ มีความถนัด ฯลฯ 

สำหรับวัยผู้ใหญ่ ช่วงอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป สมรรถภาพด้านต่างๆ เริ่มลดลง ดังนั้น จึงควรเลือกออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา เบาๆ ง่าย ๆ และเหมาะกับสภาพร่างกาย

 

            ดังนั้น  เราจึงควรมีการส่งเสริมและสนับสนุน ให้ทุกคนมีพฤติกรรมการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสุขภาพกายและใจ ซึ่งเราอาจจะเริ่มจากการสังเกตจากบุคคลรอบข้าง และตัวเราเอง ให้เห็นถึงประโยชน์ของการออกกำลังกาย เราอาจจะเริ่มจากการสังเกตตัวเราก่อน ว่าเราชอบหรือสนใจที่จะออกกำลังกายอะไรที่เหมาะกับตัวเรา เราอาจจะหาตัวเสริมแรงโดย การหาเพื่อนไปทำกิจกรรมร่วมกันก็ได้ เป็นต้น   ซึ่งจะขอนำเสนอวิธีการเพื่อสนับสนุนส่งเสริมในเรื่องการออกกำลังกาย ด้วย วิธีการปรับพฤติกรรม (Behavior Modification)  ซึ่งเป็นเกร็ดความรู้ทางวิชาการเพื่อนำไปใช้เป็นประโยชน์เพื่อสุขภาพกายและใจ   และเพื่อประโยชน์ในการเกิดพฤติกรรมพึงประสงค์(Desirable Behavior)

 

          ในการปรับพฤติกรรม  (Behavior Modification)   เป็นการนำหลักการเรียนรู้เพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลให้เหมาะสมขึ้น สำหรับการปรับพฤติกรรมนั้น ในกรณีที่สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้นั้นเราจัดกระทำโดยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมโดยตรงซึ่งเป็นการใช้เทคนิคการควบคุมภายนอก (External Control)  เช่นเดียวกัน หลังจากที่เราทำการสังเกตพฤติกรรมที่เราสนใจที่จะศึกษาของผู้ที่เราจะทำการปรับพฤติกรรมนั้น เราจะต้องมีความชัดเจนและมีความสมบูรณ์ของพฤติกรรมเป้าหมาย

 

Text Box:

แล้วความจำเป็นแค่ไหนที่เราจะต้องปรับพฤติกรรม จุดประสงค์ของการปรับพฤติกรรมก็เพื่อเราสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึ่งประสงค์ให้เป็นพฤติกรรมที่พึงประสงค์ และสามารถควบคุมตนเอง ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตและดำเนินชีวิต ได้อย่างมีความสุขอยู่ในสังคมได้  

กรณีศึกษา พฤติกรรมการออกกำลังกาย ในกรณีวิเคราะห์รายบุคคล (Single Case)

จุดประสงค์เพื่อเพิ่มพฤติกรรมการออกกำลังให้เพิ่มขึ้นจนสม่ำเสมอ ซึ่งเริ่มจากพฤติกรรมที่เราจะศึกษาเราควรจะ กำหนดนิยามของพฤติกรรมเป้าหมายให้ชัดเจนก่อน  ในที่นี้เราจะศึกษาเรื่องของการอออกกำลังกาย  โดยนิยาม การออกกำลังกาย ว่า การเคลื่อนไหวร่างกายให้มีจังหวะเหมาะสม เป็นการฝึกซ้อมให้ร่างกายแทบทุกส่วนได้มีความคล่องว่องไว  พร้อมกับการได้แรงงานด้วย   ได้แก่ การว่ายน้ำ  โดยวัดจากเวลาที่ว่ายน้ำ ตั้งแต่ 30 นาทีขึ้นไปอย่างต่อเนื่อง และการวิ่ง โดยวัดจากการวิ่ง ตั้งแต่ 30 นาที อย่างต่อเนื่อง เป็นประจำสัปดาห์ละ 3 ครั้ง  เราจะใช้ออกกำลังกายในช่วงเวลา หลังเลิกงาน คือ เวลา 18.00 – 21.00 น. ทุกวันจันทร์ พุธ ศุกร์ ของสัปดาห์ โดยสถานที่เราก็คือ สระว่ายน้ำในบริเวณหมู่บ้านที่พักอาศัย และบริเวณรอบๆหมู่บ้าน สวนสาธารณะ จากนั้นก็จะ เริ่มการสังเกตและบันทึกพฤติกรรม ใช้การสังเกตแบบเข้าไปมีส่วนร่วม  (Participated Observation) โดยการบันทึกแบบความถี่ (Frequency Recording) การสังเกตและบันทึกพฤติกรรม เป็นการบันทึกจำนวนครั้งของการเกิดพฤติกรรมเป้าหมายในช่วงเวลาที่กำหนด ในกรณีศึกษานี้นั้น เป็นการสังเกตความถี่ (จำนวนครั้ง) ในการออกกำลังกาย ซึ่งกำหนดวันและเวลาในการออกกำลังกาย  ในการเก็บข้อมูลโดยการบันทึกจำนวนครั้งของการออกกำลังกายโดยจะต้องเก็บอย่างต่อเนื่อง(Continuous Assessment)โดยดูจากความสม่ำเสมอของพฤติกรรม ซึ่งเก็บเป็นฐานข้อมูลเบื้องต้น(Baseline) เพื่อดูแนวโน้มของพฤติกรรม ดูความสม่ำเสมอของการเกิดพฤติกรรม (Stability of Performance) โดยข้อมูลในช่วงนี้ สามารถนำมาอธิบายการเกิดพฤติกรรม และสามารถนำข้อมูลมาทำนายการเกิดพฤติกรรมในอนาคต ซึ่งนำมาเขียนกราฟเพื่อให้เกิดความชัดเจนเมื่อเราพิจารณาข้อมูลแล้วพฤติกรรมการออกกำลังกาย (พฤติกรรมที่พึงประสงค์) มีแนวโน้มที่จะลดลงซึ่งจุดประสงค์ ในการปรับพฤติกรรมครั้งนี้เราต้องการเพิ่มพฤติกรรมการออกกำลังกาย ให้เพิ่มขึ้นจนคงที่สม่ำเสมอจากนั้นเราต้องออกแบบโปรแกรมในการปรับพฤติกรรมเลือกเทคนิคในการปรับพฤติกรรม

ที่จะนำมาใช้ให้เหมาะและควรคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลตามลักษณะของปัญหา เมื่อพิจารณาแล้วว่า ลักษณะส่วนบุคคลของผู้ถูกสังเกตเหมาะกับการให้การเสริมแรงประเภทใด จึงจะสามารถมีอิทธิพลต่อการเพิ่มพฤติกรรมเป้าหมายได้ เนื่องจากผู้ถูกสังเกตและผู้สังเกตเป็นคนใกล้ชิดและสามารถอยู่ร่วมกันในช่วงเวลาที่กำหนด  จากการศึกษาลักษณะ นิสัยในระดับหนึ่ง พบว่า  ไม่ว่าผู้ถูกสังเกตจะทำกิจกรรมอะไรก็ตาม เขาจะมีความมั่นใจและกล้าที่จะทำกิจกรรมนั้นโดยจะต้องมีเพื่อนร่วมทำกิจกรรมนั้นๆ ผู้ถูกสังเกตจะมีสีหน้าดีใจ แสดงอาการดีใจด้วยการยิ้ม แสดงท่าทาง เมื่อมีคนชื่นชม และเข้าใจและสนใจในสิ่งที่เขาทำ หรือในเรื่องที่เขาเล่า ประสบอยู่ ฯ  ดังนั้นผู้สังเกตจึงวางแผนว่าจะใช้เทคนิคใดในการเพิ่มพฤติกรรมเป้าหมายโดยตัดสินใจว่าเลือกใช้เทคนิคการปรับพฤติกรรมด้วยการเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement) โดยใช้ การเสริมแรงทางสังคม(Social Rein forcement)  โดยการเสริมแรงทางบวก  (Positive  Reinforcement) หมายถึง การเพิ่มความถี่ของพฤติกรรมเป้าหมายอันเป็นผลเนื่องมาจากการได้รับสิ่งเร้าบางอย่างหลังจากที่บุคคลแสดงพฤติกรรมเป้าหมายแล้ว   และการเสริมแรงทางสังคม(Social Rein forcement) หมายถึง     การแสดงออกโดยใช้คำพูดหรือท่าทางกับบุคคลหลังจากที่บุคคลแสดงพฤติกรรมแล้วอันมีผลทำให้บุคคลนั้น แสดงพฤติกรรมเป้าหมายเพิ่มขึ้นหรือทำให้มีพฤติกรรมการอออกกำลังกายเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ ก่อนที่จะเสนอเงื่อนไข ผู้สังเกตก็พยายามให้ข้อมูลและกล่าวเสนอชี้แนะ ในเรื่องของการออกกำลังกาย ว่ามีประโยชน์ เพื่อสุขภาพกายและจิตใจ และในเรื่องของเวลาในการออกกกำลังนั้นเราก็สามารถทำได้หลังเลิกงาน และวันที่ไม่มีเรียน    เมื่อผู้สังเกตเลือกเทคนิคโดยใช้การเสริมแรงทางสังคม  นั่นก็คือ   ผู้สังเกตเสนอเงื่อนไขว่า จะไปร่วมทำกิจกรรม คือ การออกกำลังกับผู้ถูกสังเกต และเขาก็ยินดีและเขาก็เริ่มสนใจกับเงื่อนไขนี้ หลังจากนั้น เราจะเริ่มดำเนินการตามโปรแกรม เราจะไปออกกำลังกายตามโปรแกรมที่เราวางแผนเอาไว้ข้างต้น เพราะพอถึงวันและเวลาที่กำหนดเราก็รู้ว่าวันนี้จะต้องไปว่ายน้ำ หรือไม่ถ้าวันไหนอากาศไม่เอื้ออำนวย เช่น เรื่องของอากาศหนาว  เป็นต้น เราก็จะออกกำลังกายโดยการวิ่งรอบ ๆ หมู่บ้าน  ซึ่งหลังจากออกกำลังกายทุกๆ ครั้ง คือ หลังจากอาบน้ำแต่งตัวเสร็จ   ก็พูดคุยกับเขาในเรื่องที่เกี่ยวกับการออกกำลังกาย บางก็ให้คำชมที่เขาสามารถทำกิจกรรมที่เราร่วมกันกำหนดขึ้นมาได้อย่างมีความสุข ซึ่งระหว่างการพูดคุย หรือมีคำชมต่าง ๆ กับความรู้สึกยินดี กับกิจกรรมที่เราทำ ซึ่งในแต่ละครั้งของการออกกำลังกาย ผู้ถูกสังเกตเองก็มีความกระตือรือร้นขึ้นและขอให้มาออกกกำลังกายเป็นเพื่อนอีกในครั้งต่อไป ซึ่งแสดงให้เห็นว่า เขาเองก็เต็มใจและอยากที่จะทำกิจกรรมนั้นจริง ๆ คำชมทุกๆ ครั้งหลังจากออกกำลังกายทันที  นั่นก็คือ  ตัวเสริมแรงทางสังคม(Social Rein forcers)

ในกรณีนี้ผู้สังเกตไปเป็นเพื่อนไปออกกำลังกายและให้คำชื่นชม (ดูสดชื่นดี,ดูแจ่มใส,ดูคล่องตัวขึ้นนะ,เห็นไมออกกำลังกายทำให้รู้สึกสดชื่น,ดูดีนะ)การยิ้ม แสดงท่าทางที่ภูมิใจ แสดงความรู้สึกดีกับการที่เขาออกกำลังกาย ฯลฯซึ่งการออกกำลังกายตามโปรแกรมเพื่อสุขภาพนี้ มีอุปสรรคก็อยู่ที่สภาพอากาศ และเวลาค่อนข้างจะจำกัด

 

ข้อควรสังเกต  ตัวเสริมแรงที่ใช้ได้ผลสำเร็จ  เนื่องมาจากลักษณะของผู้ถูกสังเกตเองต้องการอยู่แล้ว  ซึ่งสังเกตได้จากความกระตือรือร้น หลังจากที่เขาได้รับคำชมเชยว่า เมื่อออกกำลังกายแล้วทำให้ดูสดชื่น  และเมื่อมีคนให้ความสนใจเกี่ยวกับการออกกำลังกาย เขาก็จะแนะนำและชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ของการออกกำลังกาย และผลกรรมที่เขาได้รับคือ ร่างกายมีความคล่องแคล้วขึ้น การทำงานได้นานขึ้น เหนื่อยช้าลง  แจ่มใส สดชื่น อารมณ์ดี   ฯลฯ  และผู้ถูกปรับพฤติกรรมเป็นคนที่ชวนเพื่อนไปออกกำลังกายอีกในครั้งต่อไป ซึ่งจะเห็นว่า การปรับพฤติกรรมในกรณีนี้  ผู้ถูกสังเกต ก็ยังคงต้องอาศัยการเสริมแรง คือ  การมีเพื่อนไปออกกกำลังกายทุกครั้ง   และการให้ความสนใจหาข่าวสารใหม่เล็กๆน้อยมาเล่าให้ฟัง ฯ

ส่วนปัญหาหรืออุปสรรคที่เกิดขึ้น ระหว่างการดำเนินการตามแผน ก็จะเป็นในในเรื่องของเวลา ซึ่งถ้าวันไหนเราออกจากที่ทำงานช้ากว่าปกติ ก็จะทำให้ออกกำลังกายได้น้อยลงแต่ก็จะพยายามออกกำลังกายให้ได้ตามระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งในเรื่องของภูมิอากาศ ในช่วงที่ให้การเสริมแรงนั้น เป็นช่วงเวลาที่มีอากาศหนาวสลับอากาศร้อน ทำให้การออกกำลังกายโดยการว่ายน้ำสลับกับการวิ่งรอบ ๆ หมู่บ้านแทน  และสิ่งหนึ่งที่เกิดจากหลังการออกกำลังกายคือทำให้รับประทานอาหารค่ำลง ซึ่งมีผลทำให้นอนดึกขึ้น

 

          การประเมินโปรแกรมเพื่อสุขภาพ

            โปรกรมสุขภาพ : การเสริมแรงทางบวก(Positive  Reinforcement)โดยใช้ การเสริมแรงทางสังคม(Social Rein forcement) ในการปรับพฤติกรรมการออกกำลังกาย   ก็ได้ดำเนินตามแผน  จากข้อมูลข้างต้น ตั้งแต่ระยะ Baseline จนถึงการให้การเสริมแรงทางบวกนั้น แสดงถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการออกกำลังกาย ก่อนการให้การเสริมแรง พฤติกรรมการออกกำลังกายมีแนวโน้มลดลง และเมื่อมีการให้การเสริมแรงทางบวก โดยการเสริมแรงทางสังคมทุกครั้งอย่างสม่ำเสมอหลังจากออกกำลังกายทันที   ผลปรากฏว่า  พฤติกรรมการออกกำลังกายเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากตัวเสริมแรง คือ การที่มีเพื่อนไปทำกิจกรรมร่วมกัน การได้รับคำชมเชย   การให้ความสนใจเกี่ยวกับการกิจกรรมที่เขาทำ ฯลฯ  ดังนั้น โปรแกรมการปรับพฤติกรรมนี้ก็สำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

 

สรุป  การออกกำลังกาย เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและจิตใจ  เป็นการเสริมสร้างสมรรถภาพของร่างกายให้แข็งแรงเพื่อให้บุคคลมีคุณภาพชีวิตที่ดีสามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุขทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและได้ประสิทธิผล ดังนั้น เราจึงควรส่งเสริมโดยการปรับหรือพัฒนาพฤติกรรมการออกกำลังกาย ของบุคคลรอบข้าง หรือบุคคลที่สามารถจะปรับหรือพัฒนาได้ ให้เกิดพฤติกรรมการออกกำลังกายเพิ่มขึ้นจนคงที่สม่ำเสมอ ให้เปรียบเสมือนเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน เพื่อสุขภาพร่างกายและจิตใจ ในการปรับพฤติกรรมนั้น เราควรจะพิจารณาและคำนึงถึง คือข้อจำกัดและวิธีการที่นำมาประยุกต์ใช้ ให้ถูกต้องและเหมาะสมกับแต่ละบุคคล ผู้ปรับเองจะต้องมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง สำหรับวัตถุประสงค์ของการปรับพฤติกรรม คือธรรมชาติของแต่ละบุคคลนั้นมีลักษณะแตกต่างกันการนำเทคนิคต่าง ๆ มาใช้ในการปรับพฤติกรรมนั้นก็เป็นสิ่งที่จำเป็นและต้องเลือกให้เหมาะสมต้องมั่นใจว่าเทคนิคที่นำมาใช้มีความ strong พอที่จะสามารถนำมาใช้กับพฤติกรรมที่จะทำการปรับหรือพัฒนา  ส่วนความสำเร็จของการปรับพฤติกรรมนั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับผู้ที่ทำการปรับพฤติกรรม แต่จะขึ้นอยู่กับผู้ที่ถูกปรับพฤติกรรมให้สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เป็นพฤติกรรมที่พึงประสงค์ ถูกต้อง มีคุณธรรมและอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข และเพื่อที่บุคคลสามารถควบคุมตนเอง (Self Control) ไม่ให้ตกอยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของเขาเองและเพื่อบุคคลได้แสดงพฤติกรรม ได้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่บุคคลนั้นอยู่ด้วย

            ซึ่งในการสร้างโปรแกรมการปรับพฤติกรรม เป็นกระบวนการที่ผสมผสานองค์ความรู้ต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้เพื่อแก้ไขและพัฒนาพฤติกรรมเป้าหมาย ที่ต้องการจะเปลี่ยนแปลง  ซึ่งก็มีขั้นตอนดังนี้

1.      เราจะต้องทำการศึกษาพฤติกรรมปัญหาที่เกิดขึ้น

2.      เราจะต้องพิจารณาว่าพฤติกรรมปัญหาเกิดจากสาเหตุใด เกิดขึ้นเพราะอะไร

3.      จากนั้น กำหนดพฤติกรรมเป้าหมาย นิยามพฤติกรรมเป้าหมายให้ชัดเจน

4.      จะต้องทำการสังเกตและบันทึกพฤติกรรมเป้าหมาย โดยจากการรวบรวมข้อมูลพื้นฐานของพฤติกรรมเป้าหมายที่ต้องการปรับพฤติกรรม ซึ่งมีหลายวิธีการ ดังนั้นจึงจะต้องเลือกวิธีที่เหมาะสมกับธรรมชาติของพฤติกรรม

5.      จะต้องทำความเข้าใจว่าพฤติกรรมปัญหาเกิดจากสาเหตุใด แล้วใช้แนวการวิเคราะห์ตามแนวคิดทฤษฎี

6.      การเลือกเทคนิคการปรับพฤติกรรม  ให้เหมาะสม

ในการที่จะนำเทคนิคมาเพื่อปรับพฤติกรรมให้ได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้จะต้องอาศัยเวลาความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของคนและความต้องการของบุคคลที่จะทำการปรับพฤติกรรมเราจะต้องทราบจุดมุ่งหมายและเข้าใจลักษณะเฉพาะคน  เช่น การเลือกใช้ การเสริมแรงทางบวก ซึ่งขั้นตอนการใช้โปรแกรมการเสริมแรงทางบวกอย่างมีประสิทธิภาพนั้น  เริ่มจากการเลือกพฤติกรรมที่ต้องการพัฒนาต้องทำการเลือกตัวเสริมแรง ที่คิดว่าเหมาะสม โดยพิจารณาจาก ตัวเสริมแรงนั้น จะต้องมีอยู่แล้วสามารถใช้ได้ทันทีใช้ได้หลายครั้ง โดยไม่เกิด satiationไม่เสียเวลาในการใช้พยายามให้ตัวเสริมหลายๆ อย่างการนำไปใช้ เราจะต้องบอกให้รู้ถึงวัตถุประสงค์ของโปรแกรมนี้  เราจะให้การเสริมแรงทันทีที่พฤติกรรมที่พึงปรารถนาเกิดขึ้น โดยใช้คำพูดที่เจาะจงถึงพฤติกรรมที่พึงปรารถนาทุกครั้งก่อนที่จะให้การเสริมแรง  พยายามให้คำชมเชย หรือการยกย่องบ่อยครั้งขึ้นในการถอดโปรแกรม  ควรจะศึกษาจากวิธีที่ควรใช้ในการคงไว้ซึ่งพฤติกรรมที่ได้รับการพัฒนาหรือปรับแล้ว  จากตัวอย่างข้างต้นเมื่อ การออกกำลังกายเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ   คงที่  เราจึงค่อย ๆ ถอดโปรแกรมออก

7.      การกำหนดเงื่อนไขการปรับพฤติกรรม  จะต้องกำหนดให้ชัดเจน แล้วบอกให้ผู้ถูกปรับพฤติกรรม ทราบ เพื่อจะได้ทราบว่าเขาจะต้องทำอะไร และได้รับผลกรรมอย่างไร

8.      ดำเนินกรตามโปรแกรม  ตามแผนที่วางไว้

9.      การประเมินผลโปรแกรม ว่าสำเร็จหรือไม่เพราะเหตุใด

10.  การทำให้พฤติกรรมเป้าหมายคงอยู่ ด้วยการถอดถอนโปรแกรมการปรับพฤติกรรมออก

 

ข้อควรคำนึง

 

            การปรับพฤติกรรม  เป็นสิ่งที่ทำได้ยากและต้องอาศัยเวลา เทคนิคที่เหมาะสม  พฤติกรรมที่อาจจะปรับได้ เช่น เป็นพฤติกรรมที่พึ่งเกิดขึ้นปัจจุบัน เป็นพฤติกรรมที่เป็นปัญหาไม่รุนแรง และก็เป็นเฉพาะบางคนเท่านั้น   ที่จะสามารถปรับพฤติกรรมได้  และการนำไปใช้ก็ต้องระมัดระวังอย่างมาก ต่อไปนี้

1.        สิทธิของบุคคล  

2.        นการปรับพฤติกรรม ผู้ใช้จะต้องละลึกเสมอว่า คนเองมีความรู้ในเรื่องการปรับพฤติกรรมดีพอหรือยัง  การนำเทคนิคต่าง ๆ ไปใช้ จะต้องเตรียมรับกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นอย่างไร

3.        จะต้องคำนึงว่าการปรับพฤติกรรมนิยมที่ตะเลือกใช้เทคนิคการเสริมแรงหรือปรับเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรม หรือเพิ่มพฤติกรรม ซึ่งอาจเกิดปัญหาต่างๆ หรือปัญหาทางอารมณ์ตามมาได้

4.        ผู้ปรับพฤติกรรมควรคำนึงถึงประโยชน์ที่จะเกิดกับผู้ถูกปรับพฤติกรรมเพื่อให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

5.        ารนำการปรับพฤติกรรมไปใช้ควรนำไปพัฒนาพฤติกรรมที่พึ่งประสงค์กับสังคมและเรื่องจริยธรรมเป็นสิ่งสำคัญ

 

 

 

 

  บรรณานุกรม

 

คงศักดิ์   เจริญรักษ์; และคณะ . (2528). การเล่นกีฬาและออกกำลังกายของประชาชนในกรุงเทพมหานครในบทบาทของสถาบันการศึกษา การกีฬา และหน่วยงานต่าง ๆ ในกาส่งเสริมและการออกกำลังกายสำหรับทุกคน.กรุงเทพ ฯ : กองส่งเสริมพลศึกษาและสุขภาพ กรมพลศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

จรวยพร    ธรณินทร์. (2522). กายวิภาคและสรีรวิทยาของการออกกำลังกาย. กรุงเทพ ฯ : ไทยวัฒนาพานิช.

ชูศักดิ์    เวชแพศย์. (2515).  สรีรวิทยาการออกกำลังกาย. กรุงเทพ ฯ  ภาควิชาสรีรวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล.

นที   รักษ์พลเมือง ; และวิชัย วนดุรังค์วรรณ. (2530). กีฬาเวชศาสตร์พื้นฐาน.  กรุงเทพ ฯ  : คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล.

ประทีป   จินงี่. (2540). การวิเคราะห์พฤติกรรมและการปรับพฤติกรรม.  กรุงเทพ ฯ  : สถาบันพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วัฒนา สุทธิพันธุ์, (2548) . การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของประชาชนในสวนสาธารณะและสนามกีฬาในกรุงเทพมหานคร . ปริญญานิพนธ์ กศ..(พลศึกษา) กรุงเทพ ฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วุฒิพงษ์   ปรมัตถากร. (2545). การออกกำลังกาย. กรุงเทพ ฯ  กศ..,.. (พลศึกษา) สถาบันราชภัฎกำแพงเพชร.สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.

สมโภชน์   เอี่ยมสุภาษิต. (2524).  การปรับพฤติกรรม . กรุงเทพ ฯ : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.

สมหวัง   สมใจ. (2520). “การออกกำลังกายและพักผ่อน”. วารสารสุขภาพสำหรับประชาชน. กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์อักษรสมัย.

__________. (2546). รายงาน ผลการเฝ้าระวังพฤติกรรมการออกกำลังกาย. กรุงเทพ ฯ : กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยรามคำแหง